

“พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส แต่กลับขาดทุนหนักยิ่งไปกว่าเดิม”
นี่ไม่ใช่โควตจากใครที่ไหน แต่คือบทเรียนของ “คุณโจ ลูกอีสาน” ที่ได้รับจากวิกฤตซับไพร์ม แล้วเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น เขาจะมีวิธีแก้เกมอย่างไรในช่วงวิกฤตขาลงบ้าง ไปร่วมหาคำตอบพร้อม ๆ กัน

อย่างที่หลายคนรู้กัน…
การลงทุนมักมาพร้อมกับ “ความเสี่ยง” ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเมื่อใดที่เกิดวิกฤต นักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะมองว่า ช่วงเวลานี้นี่แหละ คือ โอกาสทองในการซื้อหุ้นพื้นฐานดีมาครอบครอง เพราะเราจะได้ของดีในราคาที่ถูก แล้วขายแพงได้ในอนาคต

และนักลงทุนหลายคนก็เลือกที่จะเพิ่มโอกาสนี้ด้วยการใช้

“บัญชีมาร์จิ้น” เข้ามาเพิ่มความสามารถในการลงทุน ซึ่งคุณโจ ลูกอีสาน ก็เป็นหนึ่งคนที่ใช้บัญชีมาร์จิ้นในช่วงวิกฤตซับไพร์มด้วยเช่นกัน
แม้ว่าการใช้บัญชีประเภทนี้จะมีข้อดีที่ช่วยเพิ่มพลังในการลงทุนได้มากยิ่งขึ้น เพราะมีการใช้ Leverage หรืออัตราทด แต่ก็มีข้อเสียที่ทำให้นักลงทุนหลายคนพลาดไปก็คือเรื่องของ

“ดอกเบี้ย” ที่เราจะต้องจ่ายจากการกู้ยืม ซึ่งดอกเบี้ยที่ว่านี้จะถูกคิดในรูปแบบรายวัน โดยคิดตั้งแต่วันแรกที่ทำการกู้ยืมไปจนถึงวันก่อนหน้าที่จะขายหลักทรัพย์นั้นออกมา

ซึ่งหากเราสามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง เรื่องดอกเบี้ยก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ

กรณีที่เราคาดการณ์สถานการณ์ผิดพลาด นอกจากที่เราจะต้องหาเงินมาใช้คืนส่วนที่กู้มาแล้ว เรายังจะต้องเสียดอกเบี้ยให้กับโบรกเกอร์เพิ่มขึ้นอีกด้วย
และจุดนี้เองก็ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของคุณโจ ที่แม้ว่าเขาจะใช้มาร์จิ้นเพียงแค่ 10% ของพอร์ต แต่มาร์จิ้นจำนวนนั้นกลับทำให้พอร์ตติดลบไปกว่า 70% นี่จึงเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่คุณโจไม่มีวันลืม
ถึงตรงนี้ หลายคนคงมีคำถามว่า…

แล้ว “กลยุทธ์แก้เกม” ในช่วงวิกฤตขาลงที่คุณโจใช้นั้นคืออะไร ?
หากยังจำกันได้ ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ลงไปเหลือ 900 จุด ส่งผลกระทบต่อพอร์ตลงทุนอยู่ไม่น้อย แต่คุณโจก็สามารถตั้งรับกับเหตุการณ์นี้ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องมือที่คุณโจเลือกใช้ในวิกฤตครั้งนั้นคือ “ตราสารอนุพันธ์” ที่อยู่ในตลาด TFEX
ซึ่งต้องบอกว่า ข้อดีของการใช้เครื่องมือนี้มีความคล้ายคลึงกับการใช้บัญชีมาร์จิ้นที่คุณโจได้เคยใช้ในช่วงวิกฤตครั้งก่อน เพราะสามารถเพิ่มพลังในการลงทุนได้เช่นเดียวกัน ทำให้นักลงทุนที่มีกระแสเงินสดน้อย ไม่เพียงพอที่จะเทรดได้หนัก ๆ ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ช่วยได้ แต่จะต่างกันตรงที่ การใช้เครื่องมือนี้จะไม่เสียดอกเบี้ยเหมือนบัญชีมาร์จิ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงเครื่องมือนี้… ส่วนใหญ่ภาพจำของนักลงทุนก็คือ “การใช้เพื่อเก็งกำไรระยะสั้น” แต่สำหรับคุณโจนั้น มีวัตถุประสงค์ที่ใช้เพื่อ Hedging หรือ “ป้องกันความเสี่ยงพอร์ต”

เป็นหลัก
ซึ่งการใช้เครื่องมือในตลาด TFEX จะช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารพอร์ตให้รอดจากความเสี่ยงในช่วงตลาดปรับตัวลงได้ ด้วยการเข้า Short ในดัชนี เช่น

SET50 Index Futures ซึ่งช่วยสร้างกำไรในช่วงตลาดขาลง เพื่อมาชดเชยหุ้นในพอร์ตที่ขาดทุนในเวลานั้นอยู่นั่นเอง
สำหรับสินทรัพย์ในตลาด TFEX ไม่ได้มีเพียง SET50 Index Futures เท่านั้น แต่ยังมี Stock Futures ที่อ้างอิงกับหุ้นรายตัวให้เราได้เทรดกันทุกสภาวะอีกด้วย
หากครั้งไหนที่เราคาดการณ์ได้ว่า หุ้นที่เราถืออยู่นั้นจะปรับตัวลดลง ก็สามารถเปิดสัญญาขายล่วงหน้า (Short

) บน Stock Futures ที่อ้างอิงกับหุ้นตัวนั้นได้ เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงของพอร์ต และยังเพิ่มโอกาสทำกำไรกลับมาสู่พอร์ตของนักลงทุนได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม

แม้ว่าตลาด TFEX จะมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนจะต้องไม่ลืมเลยก็คือเรื่องของ “การบริหารเงินบนหน้าตัก”

เพราะอย่างที่บอกไปว่า เครื่องมือนี้สามารถ Leverage ได้ แต่หากนักลงทุนคาดการณ์สถานการณ์ตลาดผิดทาง และบริหารเงินบนหน้าตักได้ไม่ดีจนเกิด Overtrade ก็อาจทำให้พอร์ตของนักลงทุนพังได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้คือ กรณีศึกษาในการแก้เกมช่วงวิกฤตตลาดขาลงของ คุณโจ ลูกอีสาน จากผู้ที่เคยผิดพลาดเพราะการใช้บัญชีมาร์จิ้น สู่การแก้เกมด้วยการใช้ TFEX ได้อย่างเหมาะสมและถูกจังหวะ จนเป็นประโยชน์กับพอร์ตลงทุนของตนเอง

และสำหรับนักลงทุนท่านใด ที่สนใจติดตามแนวคิด รวมทั้งอยากมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ TFEX ในแบบฉบับของคุณโจ ลูกอีสาน สามารถเข้ามารับชม “วิดีโอบทสัมภาษณ์คุณโจ ลูกอีสาน” สุดพิเศษนี้ได้ที่
https://setga.page.link/fmDk