“เดี๋ยวบาทแข็งดอลลาร์อ่อน เดี๋ยวบาทอ่อนดอลลาร์แข็ง”
จากสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจ และการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน ทำให้ช่วงเวลานี้เรียกได้ว่า มีแต่ความไม่แน่นอนสูง ส่งผลกระทบไปยังค่าเงินทั่วโลก จากดอลลาร์สหรัฐที่เคยแข็งแล้วแข็งอีก แต่จู่ ๆ กลับกลายเป็นอ่อนค่าเสียได้
อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินจะอ่อนค่าหรือแข็งค่านั้น ก็ล้วนแต่มีเหตุและปัจจัยอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ซึ่งหากเราสามารถทำความเข้าใจกับเรื่องค่าเงินนี้ได้ นอกจากจะช่วยให้เรารับมือกับความผันผวน หรือปรับตัวกับทุกสถานการณ์ได้แล้ว สิ่งนี้จะยังกลายเป็น “เครื่องมือที่ทรงพลัง” ที่ช่วยสร้างกำไรแบบทวีคูณจากการลงทุนได้ตลอดชีวิตอีกด้วย
เอาละ ! เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักลงทุน วันนี้เราจะพาทุกคนมาปูพื้นฐาน “หลักการของค่าเงิน” แบบเข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะกับสินทรัพย์อย่าง Currency Futures ที่มาพร้อมโอกาสในการเพิ่มพลังการลงทุน ช่วยให้เงินก้อนเล็ก กลายเป็นเงินก้อนโตได้เร็วขึ้น
แต่จะมีเรื่องอะไรที่เราต้องรู้ และทำความเข้าใจก่อนลงสนามจริงบ้างนั้น ถ้าพร้อมแล้ว…ก็ไปลุยกันเลย !
1. เข้าใจ “Symbol ของค่าเงิน”
โดยทั่วไปแล้ว ค่าเงินจะถูกเปรียบเทียบกันในรูปแบบของ “คู่สกุลเงิน” แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสกุลเงินสองสกุล ซึ่งจะถูกเขียนในรูปแบบที่ใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงิน เช่น USD/THB หรือ EUR/USD เป็นต้น โดยที่ตัวแรกในคู่คือ สกุลเงินหลัก (Base Currency) และตัวที่สองคือ สกุลเงินรอง (Quote Currency)
สำหรับการอ่านค่า ให้เราอ่านเรียงจากตัวแรกมาตัวท้าย โดยใช้นิยามว่า 1 ตัวแรก เท่ากับ X ตัวท้าย เช่น USD/THB จะอ่านว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ X บาท เป็นต้น
2. เข้าใจ “Vocab ของค่าเงิน”
สำหรับศัพท์ที่มักพบเจอบ่อย ๆ ในการเทรดค่าเงินก็มีอยู่สองตัวด้วยกัน นั่นก็คือ ค่าเงินแข็ง และค่าเงินอ่อน โดยที่ทุกครั้งที่มีการเปรียบเทียบคู่สกุลเงิน หากมีสกุลเงินค่าหนึ่งแข็ง อีกตัวจะต้องอ่อนเสมอ
● ค่าเงิน X แข็ง หมายถึง สกุลเงิน X มีมูลค่ามากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น
● ค่าเงิน Y อ่อน หมายถึง สกุลเงิน Y มีมูลค่าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น
ตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบคู่สกุลเงิน USD/THB : จากเดิมที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเงินได้ 35 บาท
มาวันนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเงินได้ 33 บาท หมายความว่า ดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าน้อยลง ส่วนไทยบาท มีมูลค่าสูงขึ้น แบบนี้เราจะเรียกว่า บาทแข็ง/ดอลลาร์อ่อน นั่นเอง
3. เข้าใจ “Factor ของค่าเงิน”
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการแข็งค่าหรืออ่อนค่าของค่าเงินนั้น ก็มีหลากหลายปัจจัย เช่น
● อัตราดอกเบี้ย : เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นตัวสะท้อนผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้น เงินทุน จึงมักเคลื่อนไหวไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่า การปรับขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ย จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ค่าเงินแข็ง หรืออ่อนค่าได้
● นโยบายการเงินของธนาคารกลาง : ธนาคารกลางจะเป็นผู้กำหนดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ ซึ่งจะส่งผลต่ออุปสงค์ และอุปทานของค่าเงินในประเทศ เช่น หากมีการเพิ่มสัดส่วนเงินฝากขั้นต่ำ ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องกันไว้เป็นเงินสำรอง ทำให้เงินในระบบน้อยลง ก็จะส่งผลให้ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นได้ เป็นต้น
● ดุลการค้า และการเคลื่อนที่ของเงินทุน : เช่น หากประเทศไทยมีการส่งออกได้มากกว่าการนำเข้า แสดงว่า มีกำไร (เกินดุลการค้า) เงินตราต่างประเทศที่เข้ามาจะถูกแลกเป็นเงินบาท ส่งผลให้ความต้องการเงินบาทสูงขึ้น ค่าเงินบาทก็มีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น
● การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเมืองภายในประเทศ : หากประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม การเมืองมีเสถียรภาพมั่นคง ก็จะส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น ก็มักจะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้ด้วย เป็นอย่างไรกันบ้าง อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พอจะเริ่มเข้าใจเรื่องของค่าเงินกันบ้างแล้วใช่ไหม ?
และคำถามสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ…ถ้าเราเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เราจะทำกำไรจากค่าเงินที่แข็งค่า หรืออ่อนค่านี้ ได้อย่างไร ?
ปัจจุบัน การทำกำไรจากทิศทางการแข็งค่า หรืออ่อนค่าของเงิน ทำได้ง่ายขึ้น ผ่านตลาด TFEX ซึ่งไม่ต้องใช้เงินเยอะเพื่อไปซื้อเงินสกุลต่าง ๆ มาเก็บไว้ และที่สำคัญคือถูกกฎหมาย โดยการซื้อขายค่าเงินในตลาด TFEX นั้น จะมีให้เลือกซื้อขายได้ 5 คู่สกุลเงินด้วยกัน
กลุ่มเงินสกุลต่างประเทศ เทียบเงินบาท
- USD Futures ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน เงินดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาท
- EUR Futures ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน เงินยูโรต่อเงินบาท (เริ่มซื้อขาย 4 พ.ย. 2567)
- JPY Futures ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน เงินเยนญี่ปุ่นต่อเงินบาท (เริ่มซื้อขาย 4 พ.ย. 2567)
กลุ่มเงินสกุลต่างประเทศ
- EURUSD Futures ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เงินยูโรต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ
- USDJPY Futures ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เงินดอลลาร์สหรัฐต่อเงินเยนญี่ปุ่น ทริก !
1. เลือกคู่สกุลเงินที่สนใจเทรด
2. วิเคราะห์ และคาดการณ์แนวโน้มค่าเงิน (ใครแข็ง ใครอ่อน)
3. เปิดสถานะซื้อหรือขาย โดยอิงจาก “สกุลเงินหลัก”
- กรณีที่มองว่าค่าเงินสกุลหลักจะแข็งค่าขึ้น ให้เปิดสถานะ Long
- แต่หากมองว่าค่าเงินสกุลหลักจะอ่อนค่าลง ให้เปิดสถานะ Short
ตัวอย่างเช่น นักลงทุนต้องการเทรดคู่สกุลเงิน USD/THB และมองว่าในอนาคตค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จะแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินบาท (ดอลลาร์แข็ง/บาทอ่อน) แบบนี้ก็ให้เราเปิดสถานะซื้อล่วงหน้า (Long Open) ในสัญญา USD Futures เป็นต้น
สำหรับ “จุดเด่นของการเทรดคู่สกุลเงิน” ผ่านสัญญาฟิวเจอร์สในตลาด TFEX นี้ ลงทุนได้อย่างมั่นใจ มีกฎหมายคุ้มครองผู้ลงทุน ใส่เงินแล้วโบรกเกอร์ไม่ปิดหนีหาย หากมีกำไรก็ถอนออกได้ทันที
ราคาวิ่งตามตลาดโลก ติดตามและวิเคราะห์ได้สะดวก รวมถึงคิดกำไรขาดทุนง่าย เพราะวางหลักประกันในการซื้อขายเป็นสกุลเงินบาท ไม่ต้องแลกเงินตราต่างประเทศกลับไปกลับมาให้ยุ่งยาก
เทรดได้ทุกที่ผ่านแอปบนโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โดยที่ตลาดจะเปิดตั้งแต่เวลา 09.45 น. จนถึง 03.00 น. สะดวกตอนไหนก็เทรดตอนนั้นได้เลย
ใช้เงินน้อย ไม่ต้องจ่ายเงินเต็มมูลค่าสัญญา แต่เป็นการวางหลักประกันบางส่วน เริ่มต้นประมาณ 1,000-1,500 บาทต่อสัญญา หรือคิดเป็นประมาณ 3-5% ของมูลค่าที่แท้จริง มีอัตราทด (Leverage) ประมาณ 20-40 เท่า เพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แม้จะมีเงินทุนเริ่มต้นน้อย
ทั้งหมดนี้ คือพื้นฐาน “เรื่องคู่สกุลเงิน” ที่จะช่วยให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสทำกำไรจากความผันผวนได้มากขึ้น ที่สำคัญ !! ใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้การเทรดของเรานั้นแม่นยำมากขึ้นไปอีก การใช้กราฟเทคนิคเข้ามาช่วย ก็นับว่าเป็นเครื่องมือที่ไม่ควรพลาดเลย ! สำหรับนักลงทุนท่านใด ที่สนใจการลงทุนด้วย TFEX ไปพร้อมกับมุมมองและประสบการณ์ความสำเร็จจากรุ่นพี่ในสนามนี้ ก็สามารถรับชม “วิดีโอบทสัมภาษณ์” สุดพิเศษเพิ่มเติมได้ที่ https://setga.page.link/EHqt
#TFEX #Currency #ค่าเงินอ่อน #ค่าเงินแข็ง
#การลงทุน #เทรดค่าเงิน #เก็งกำไรค่าเงิน #ค่าเงินผันผวน #ฟิวเจอร์ส