Currency Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันมีสัญญาเปิดให้ซื้อขายได้ 5 คู่สกุลเงิน แบ่งเป็นกลุ่มที่อ้างอิงกับค่าเงินบาท ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน USD/THB, EUR/THB และ JPY/THB และกลุ่มที่อ้างอิงกับคู่สกุลเงินต่างประเทศ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน EUR/USD และ USD/JPY ทั้งหมดเป็นคู่สกุลเงินสำคัญที่มีความนิยมซื้อขายสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยเราจะอ่านคู่สกุลเงินแรกเป็นสกุลเงินหลัก และคู่สกุลเงินหลังเป็นสกุลเงินอ้างอิง เช่น
| การส่งคำสั่งซื้อขายจะเป็นเงินบาท เทียบต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ |
| การส่งคำสั่งซื้อขายจะเป็นเงินบาท เทียบต่อ 1 ยูโร |
| การส่งคำสั่งซื้อขายจะเป็นเงินบาท เทียบต่อ 100 เยน |
| การส่งคำสั่งซื้อขายจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบต่อ 1 ยูโร |
| การส่งคำสั่งซื้อขายจะเป็นเงินเยน เทียบต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ |
Currency Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงว่าจะแลกเงินกันในอนาคตด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันในปัจจุบัน เหมาะสำหรับใช้ป้องกันความเสี่ยงและสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากความผันผวนของค่าเงินได้
เป็นสัญญามาตรฐานที่กำหนดขนาดและวันหมดอายุชัดเจน โดยผู้ลงทุนต้องวางเงินหลักประกันเริ่มต้นประมาณ 1,000-1,500 บาทต่อสัญญา จึงถือเป็นขนาดของสัญญาที่ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้สะดวก การซื้อขายใช้สกุลเงินบาท ไม่ต้องแลกเป็นเงินตราต่างประเทศ สามารถซื้อขายได้ตั้งแต่ 9.15 ถึง 3.00 น.ของวันถัดไป จึงนับว่าเป็นทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เข้าถึงได้ง่าย
| ช่วงห่างราคาซื้อขาย 0.01 THB คิดเป็นมูลค่า 10 บาท |
| ช่วงห่างราคาซื้อขาย 0.01 THB คิดเป็นมูลค่า 10 บาท |
| ช่วงห่างราคาซื้อขาย 0.01 THB คิดเป็นมูลค่า 10 บาท |
| ช่วงห่างราคาซื้อขาย 0.0001 USD คิดเป็นมูลค่า 3 บาท |
| ช่วงห่างราคาซื้อขาย 0.01 JPY คิดเป็นมูลค่า 3 บาท |
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการซื้อขาย | |
USD คือ ตัวย่อที่อ้างอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับสกุลเงินบาท (USD/THB) EURUSD คือ ตัวย่อที่อ้างอิงสกุลเงินยูโร เทียบสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (EUR/USD) USDJPY คือ ตัวย่อที่อ้างอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เทียบสกุลเงินเยน (USD/JPY) ตามด้วยสัญลักษณ์ตัวย่อของเดือนที่หมดอายุ และปี ค.ศ. ที่หมดอายุตัวย่อเดือนที่หมดอายุ เช่น H เท่ากับเดือนมีนาคม และตัวเลข 2 ตัวสุดท้าย คือ ปี ค.ศ. ที่หมดอายุ เช่น 2023 ใช้ตัวย่อ 23 |
ปัจจัยที่มีผลต่อราคา Currency Futures | |
ด้านปัจจัยที่กระทบต่อราคาฟิวเจอร์ส ประกอบด้วย 3 ตัวแปรสำคัญ | |
สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สกุลเงินยูโรและสกุลเงินเยน เนื่องจากเป็นสินค้าอ้างอิงโดยตรง ทำให้ผู้ลงทุนต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน เช่น นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางอย่าง FED, ECB, BOJ และธนาคารแห่งประเทศไทย สภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ, ยูโรโซน, ญี่ปุ่น และของไทย ดุลบัญชีการชำระเงินระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย รวมถึงนโยบายหรือกิจกรรมที่กระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ฯลฯ | |
ระยะเวลาของสัญญาที่เหลือ โดยมูลค่าตามเวลาที่เหลืออยู่ (Time Value) ของฟิวเจอร์สจะลดลงเรื่อย ๆ จน ณ วันหมดอายุฟิวเจอร์สจะมีราคาเท่ากับสินทรัพย์อ้างอิง | |
อัตราดอกเบี้ย การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อมูลค่าตามเวลาที่เหลืออยู่ (Time Value) ของสัญญาฟิวเจอร์ส โดยต้องคำนึงถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของทั้ง 2 ประเทศ | |
คำนวณราคาฟิวเจอร์สตามแบบ Cost of Carry Model ได้ที่นี่ |
วิธีการคำนวณ |
เปิดสถานะ (Long Open) ใน USD/THB Futures ที่ราคา 32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นมาที่ระดับ 33.00 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขายเพื่อ ปิดสถานะ(Short Close) |
กำไร = (33.00 – 32.50) x 1,000 = + 500 บาท |
วิธีการคำนวณ |
เปิดสถานะ (Short Open) ใน EUR/USD Futures ที่ราคา 1.0995 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อยูโร ถ้าสกุลเงินยูโร อ่อนค่าลงมาที่ระดับ 1.0895 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อยูโร ซื้อเพื่อ ปิดสถานะ (Long Close) |
กำไร = (1.0995 – 1.0895) x 30,000 = + 300 บาท |
สรุปจุดเด่นของ Currency Futures | |
ใช้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบสกุลเงินบาท ทั้งในมุมผู้ส่งออกและนำเข้า | |
เป็นเครื่องมือสร้างโอกาสทำกำไรในช่วงตลาดค่าเงินมีความผันผวน | |
ใช้เงินลงทุนน้อยเงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 10% ของมูลค่าสัญญา | |
คิดกำไรขาดทุนเป็นเงินบาท ไม่ต้องส่งมอบ และแลกเงินเป็นสกุลเงินอื่น | |
ซื้อขายผ่านระบบที่ได้มาตรฐาน มีกฏหมายคุ้มครอง |